ศึกษาเกี่ยวกับสารรอบตัว สมบัติของสาร การจำแนกสารด้วยสถานะ เนื้อสาร และขนาดอนุภาคของสาร การเปลี่ยนแปลงของสาร สารบริสุทธิ์และสารผสม สมบัติของสารบริสุทธิ์และสารผสม การใช้ความรู้   ทางเคมีให้เป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย การศึกษาชีววิทยาโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์   ศึกษาประเภทโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ ศึกษากระบวนการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ด้วยวิธีการแพร่และ      การออสโมซิส ศึกษาการดำรงชีวิตของพืช กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การลำเลียงสารในพืช             การเจริญเติบโตของพืช การสืบพันธุ์ของพืช และเทคโนโลยีชีวภาพของพืช ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิและการวัด  ผลของความร้อนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร สมดุลความร้อน  การถ่ายโอนความร้อน องค์ประกอบของบรรยากาศ การแบ่งชั้นบรรยากาศ ผลของรังสีจากดวงอาทิตย์ต่อบรรยากาศ องค์ประกอบของบรรยากาศ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความดันอากาศ ความชื้นอากาศ ลม เมฆและฝน พายุฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน มรสุม การพยากรณ์อากาศ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

        โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต            การวิเคราะห์ การทดลอง การอภิปราย การอธิบาย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ            มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน                    มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม และจริยธรรม


คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมายของเทคโนโลยี วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการทำงานของระบบทางเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบและเลือกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันในด้านการเกษตรและอาหาร และสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย


ศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง และอธิบาย เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง  สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์  แรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้าระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส  ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด  เวลา  ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์  ความสัมพันธ์ระหว่างคาบและรัศมีของการเคลื่อนที่เป็นวงกลม  และเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย  ประโยชน์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์   แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย    สมบัติของคลื่นกล  ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็ว ความถี่ และความยาวคลื่น  การเกิดคลื่นเสียง บีตส์ของเสียง ความเข้มของเสียง ระดับความเข้มเสียง การได้ยินเสียง คุณภาพเสียง การนำความรู้เรื่องเสียงไปใช้ประโยชน์  มลภาวะของเสียง สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การใช้ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ฟิวชันและความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงาน   ผลของปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการใช้ประโยชน์   ปฏิกิริยาลูกโซ่    การเกิดและการสลายกัมมันตภาพรังสี    ชนิดและสมบัติของรังสีจากธาตุกัมมันตรังสี       ประโยชน์และอันตรายจากสารกัมมันตรังสีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

วิชาเรียนออนไลน์ ปีการศึกษา 2567
การออกแบบและเทคโนโลยี ม.1

      ศึกษาแนวคิดเชิงนามธรรม การคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา  ขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนรหัสจำลองผังงาน การเขียนออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ที่มีการใช้งานตัวแปร เงื่อนไข และการวนซ้ำ เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การประมวลหลข้อมูล การสร้างทางเลือก และประเมินผลเพื่อตัดสินใจ ซอฟต์แวร์ และบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการจัดการข้อมูล แนวทางการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ข้อตกลงและข้อกำหนดการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

วิชาจะเปิดให้เริ่มเข้าเรียนได้ วันที่ 25 มีนาคม 2567

          คำอธิบายรายวิชา

            ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ปฏิกิริยาที่เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ การเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน  ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน  ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน  การดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้เลขออกซิเดชัน และวิธีครึ่งปฏิกิริยา ระบุองค์ประกอบของเซลล์เคมีไฟฟ้า ที่ขั้วแคโทด ขั้วแอโนด  แผนภาพเซลล์ ค่าศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของเซลล์  หลักการทำงานการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า  การแยกสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า การทำโลหะให้บริสุทธิ์  การป้องกันการกัดกร่อนของโลหะ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เคมีไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน อธิบายสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ  เขียนสูตรโครงสร้างอินทรีย์แบบต่างๆ 
ระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน สูตรและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆตามระบบ
IUPAC  เปรียบเทียบจุดเดือด และการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน


ศึกษาความสําคัญของการศึกษาชีววิทยาและกระบวนการในการศึกษาชีววิทยา ความสัมพันธ์ของการจัดระบบในสิ่งมีชีวิตที่ทําให้สิ่งมีชีวิตดํารงชีวิตอยู่ได้ สมบัติของน้ำและบอกความสําคัญของน้ำที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและยกตัวอย่างธาตุชนิดต่างๆ ที่มีความสําคัญต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต  ศึกษาสารชีวโมเลกุลอธิบายโครงสร้างและความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ปฏิกิริยาเคมี เซลล์และการทำงานของเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การลําเลียงสาร การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและแบบไมโอซิส การหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน

วันเปิดเรียน 16 พฤษภาคม 2567